ชุมชนเภสัชกรนักปฏิบัติ

ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) เป็นการรวมตัวกันของผู้ที่มีความสนใจร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ การแก้ไขปัญหา เคล็ดลับ วิธีการ และแนวปฏิบัติที่ดี ในรูปแบบที่เป็นและไม่เป็นทางการ เป็นการพัฒนาวิชาชีพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวถ้าทำได้อย่างมีประสิทธิผล องค์ประกอบพื้นฐานของขุมชนนักปฏิบัติ คือ

องค์ประกอบพื้นฐานของขุมชนนักปฏิบัติ คือ

  1. มี “สาระ ประเด็น หรือหัวข้อความรู้” (Knowledge Domain) ที่สมาชิกมีความสนใจร่วมกันที่จะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนกัน
  2. มีการปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม คือเป็น “ชุมชน” (Community) นั่นคือ สมาชิกซึ่งมาจากต่างหน่วยงานหรือองค์กร มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาและตอบคำถาม
  3. มี “แนวปฏิบัติ” (Practice) ที่สมาชิกซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงในเรื่องนั้นๆ นำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน เช่น เคล็ดลับ แนวทางแก้ไขปัญหา แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ เป็นต้น มาแลกเปลี่ยนและพัฒนา รวมทั้งสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติร่วมกัน

ช่องทางการติดตามกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ

ADCoPT

กลุ่มชุมชนเภสัชกรนักปฏิบัติงานการประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ประเทศไทย)
Adverse Drug Reactions Community of Pharmacy Practice (Thailand)

GTAPP

กลุ่มชุมชนเภสัชกรนักปฏิบัติสาขาการผลิตและการให้บริบาลทางเภสัชกรรมด้านยาปราศจากเชื้อ
Group of Thai Aseptic Dispensary and Pharmaceutical care Practitioners

HATHAI

กลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (ประเทศไทย)
The Community of Pharmacist for Heart and Vascular Disease of Thailand

SOFT

กลุ่มเภสัชกรครอบครัว (ประเทศไทย)
Society of Family Pharmacist (Thailand)

SOPITT

กลุ่มชุมชนเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย)
Society of Pharmacists in Infectious Disease Medicines and Therapeutic (Thailand)

TPAC

กลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย
Thai Pharmacist Practitioner Group in Asthma and COPD

T-RPG

กลุ่มเภสัชกรดูแลผู้ป่วยโรคไต (ประเทศไทย)
Thai Renal Pharmacist Group

error: Content is protected !!